วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of Multiple Intelligences)

(http://www.niteslink.net/)ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน ประกอบด้วย
- เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence)
- สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้ คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
2. เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆ ด้าน ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน ครูควรสอนโดนเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเอง และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น รวมทั้งเห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ระบบการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินหลายๆ ด้าน และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ การประเมินจะต้องครอบคลุมความสามารถในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ อีกวิธีหนึ่ง

ทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of Multiple Intelligences) ผู้บุกเบิกทฤษฎีนี้คือ การ์ดเนอร์ จากมหาวิทยาลัยอาร์วาร์ด ได้ให้คำนิยาม เชาว์ปัญญา(Intelligence) ได้ว่า หมายถึง ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่างๆหรือการสร้างสรรค์ผลงานต่างๆมีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง
การ์ดเนอร์มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1.เชาว์ปัญญาของบุคคลมี 8 ประการด้วยกัน คือ
   - เชาว์ปัญญาด้านภาษา
   - เชาว์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์ หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ
   - สติปัญญาด้านมิตรสัมพันธ์
   - เชาว์ปัญญาด้านดนตรี

   - เชาว์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ
   - เชาว์ปัญญาด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น
   - เชาว์ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง
   - เชาว์ปัญญาด้านสนความเข้าใจธรรมชาติ
2.เชาว์ปัญญาของแต่ละคนจะไม่อยู่คงที่ แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
(ประมวลทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นสากลและการประยุกต์สู่การสอน)ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)
ก.      ทฤษฎีการเรียนรู้ ผู้บุกเบิกทฤษฎีนี้คือ การ์ดเนอร์ (Gardner) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ให้นิยามคำว่า เชาน์ปัญญา (intelligence) ไว้ว่า หมายถึงความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่างๆซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง รวมทั้งความสามารถในการตั้งปัญหาเพื่อจะหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้การ์ดเนอร์มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการคือ
1.      เชาน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน
2.      เชาน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
ในความมคิดของการ์ดเนอร์ เชาน์ปัญญาของบุคคลประกอบด้วยความสามารถ 3 ประการคือ
1.      ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพการณ์ต่างๆที่เป็นไปตามธรรมชาติและตามบริบททาววัฒนธรรมของบุคคลนั้น
2.      ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประสิทธิภาพและสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรม
3.      ความสามารถในการแสวงหาหรือตั้งปัญหาเพื่อหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้
เชาน์ปัญญา 8 ด้านตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ มีดังนี้
1.      เชาน์ปัญญาด้านภาษา (linguistic intelligence) ถูกควบคุมโดยสมองส่วนที่เรียกว่า “broca’s area”สติปัญญาด้านนี้แสดงออกทางความสามารถในการอ่าน การเขียน การพูดอภิปราย
2.      เชาน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ (logical mathematical intelligence) มักจะคิดโดยจะใช้สัญลักษณ์ มีระบบระเบียบในการคิด ชอบคิดวิเคราะห์ แยกแยะสิ่งต่างๆให้เห็นชัดเจน
3.      สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (spatial intelligence) ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา และแสดงออกทางความสามารถด้านศิลปะ การวาดภาพ การสร้างภาพ การใช้สีสร้างสรรค์งานต่างๆและมักจะเป็นผู้มองเห็นวิธีแก้ปัญหาในมโนภาพ
4.      เชาน์ปัญญาด้านดนตรี (musical intelligence) ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา แต่ยังไม่สามารถระบุตำแหน่งที่แน่นอนได้ จะแสดงออกทางความสามารถในด้านจังหวะ การฟังเพลง ดนตรี และมีความไวต่อการรับรู้เสียงและจังหวะต่างๆ
5.      เชาน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ (bodily – kines – thetic intelligence) ถูกควบคุมโดยสมองส่วนที่เรียกว่าคอร์เท็กซ์โดยด้านซ้ายควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกขวา และด้านขวาควบคุมการเคลื่อนไหวของร่ากายซีกซ้าย สติปัญญาทางด้านนี้สังเกตได้จากความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย
6.      เชาน์ปัญญาด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น(interpersonal intelligence) ถูกควบคุมโดยสมองส่วนหน้า ความสามารถที่แสดงออกทางด้านนี้ เห็นได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การทำงานกับผู้อื่น การเข้าใจและเคารพผู้อื่น
7.      เชาน์ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง(intrapersonal intelligence) บุคคลที่มีความสามารถในการเข้าใจตนเอง มักเป็นคนที่ชอบคิด พิจารณาไตร่ตรอง มองตนเอง และทำความเข้าใจถึงความรู้สึกและพฤติกรรมของตนเอง
8.      เชาน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ (naturalist intelligence) เป็นความสามารถในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การจำแนกแยกแยะ จัดหมวดหมู่ สิ่งต่างๆรอบตัว บุคคลที่มีความสามารถทางนี้ มักเป็นผู้รักธรรมชาติ
                การ์ดเนอร์เชื่อว่า ในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้จะดูเหมือนว่า ใช้เชาน์ปัญญาด้านหนึ่งด้านใดอย่างชัดเจน แต่แท้จริงแล้วต้องอาศัยเชาน์ปัญญาหลายๆด้านผสมผสานกัน
ข.      การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน แนวทางการนำทฤษฎีพหุปัญญามาใช้ในการเรียนการสอนมีหลากหลาย ดังนี้
1.      เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีเชาน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เหมือนกัน ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนควรมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาน์ปัญญาหลายๆด้าน มิใช่มุ่งพัฒนาแต่เพียงเชาน์ปัญญาด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น จะช่วยให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสที่จะพัฒนาตนเองอย่างรอบด้าน หรือความสามารถเฉพาะตนของผู้เรียนไปในตัว
2.      เนื่องจากผู้เรียนมีระดับพัฒนาการในการเชาน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการในแต่ละด้านของผู้เรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเด็กที่มีขั้นพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งสูง ควรต้องแตกต่างไปจากเด็กที่มีขั้นพัฒนาการในด้านนั้นต่ำกว่า
3.      เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีเชาน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เหมือนกัน การผสมผสานของความสามารถด้านต่างๆที่มีอยู่ไม่เท่ากันนี้ ทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะของแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน และความแตกต่างที่หลากหลายนี้สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม
4.      ระบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ควรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนไปจากแนวคิดเดิมที่ใช้การทดสอบเพื่อวัดความสามารถทางเชาน์ปัญญาเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ควรมีการประเมินหลายๆด้าน และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาน์ปัญญาด้านนั้นๆ
สรุป  พหุปัญญาเป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกกกับการเชาน์ปัญญา โดยการเชาน์ปัญญามีส่วนสำคัญคือสมองที่ใช้ในการควบคุมส่วนต่างๆให้มีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้เกิดการเชาน์ปัญญาในหลายๆด้าน การจัดกิจกรรมในการเรียนการสอนจะส่งเสริมการพัฒนาของสติปัญญาของผู้เรียนได้ดี
อ้างอิง
(ประมวลทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นสากลและการประยุกต์สู่การสอน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น