วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism)

(http://www.niteslink.net/)
นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี ไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ พฤติกรรมมากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้ ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวด้วยกัน คือ
- ทฤษฎีการเชื่อมโยง(Classical Connectionism) ของธอร์นไดค์
(Thorndike) มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจาการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ซึ่งมีหลายรูปแบบ บุคคลจะมีการลองผิดลองถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุด เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว บุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบเดียว และจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนแบบลองผิดลองถูกบ้าง มีการสำรวจความพร้อมของผู้เรียนซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำก่อนการสอนบทเรียน เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วครูควรฝึกให้ผู้เรียนฝึกการนำการเรียนรู้นั้นไปใช้บ่อยๆ การศึกษาว่าสิ่งใดเป็นสิ่งเร้าหรือรางวัลที่ผู้เรียนพึงพอใจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
- ทฤษฎีการวางเงื่อนไข(Conditioning Theory) ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย 4 ทฤษฏี ดังนี้ 1) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ (Pavlov’s Classical Conditioning) เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน (Watson’s Classical Conditioning) เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ 3) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี(Guthrie’s Contiguous Conditioning) เน้นหลักการจูงใจ สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้วไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก 4) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์(Skinner’s Operant Conditioning) เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเสนอสิ่งเร้าในการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีการแสริมแรงหรือให้รางวัลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจที่จะเรียนรู้
- ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์(Hull’s Systematic Behavior Theory) มีความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้า การเรียนรู้จะลดลง การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงมักคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด การจัดการเรียนการสอนควรให้ทางเลือกที่หลากหลายเพื่อตอบสนองระดับความสามารถของผู้เรียน

(http://www.sobkroo.com/)
นักคิดกลุ่มนี้มองธรรมชาติ ของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี ไม่เลว การกระทำต่างๆของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง ประกอบด้วย
1.               ทฤษฎีการเชื่อมโยง ธอร์นไดค์ (Thorndike) เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กฎของธอร์นไดค์สรุปได้ ดังนี้
-         กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
-         กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
-         กฎแห่งการใช้ (Law of Use and Disuse)
-         กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of Effect)
2.               ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของ พาฟลอฟ ได้ทำการทดลองให้สุนัขน้ำลายไหลด้วยเสียงกระดิ่ง การทดลองสรุปเป็นการเรียนรู้ได้ดังนี้
-         พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ตองสนองต่อความต้องการทางธรรมชาติ
-         พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
-         พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งเร้าจนลดลงเรื่อยๆและหยุดลงหากได้รับการสนองตามธรรมชาติ
-         พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ต่อสิ่งเร้าหยุดลงเมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติจะกลับปรากฏได้อีกโดยไม่ต้องใช้สิ่งเร้าตามธรรมชาติ
-         มนุษย์มีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งเร้าที่มีลักษณะคล้ายๆกันจะตอบสนองเหมือนๆกัน
-         บุคคลมีแนวโน้มที่จะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันและเลือกตอบสนองได้ถูกต้อง
-         กฎแห่งการลดภาวะ (Law of Extinction)
-         กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติ (Law of Spontaneous Recovery)
-         กฎแห่งการถ่ายโยงการเรียนรู้สู่สถานการณ์อื่นๆ (Law of Generali Zation)
-         กฎแห่งการจำแนกความแตกต่าง (Law of Discrimination)
3.               ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของวัตสัน (Watson)
-         พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
-         เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆได้ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้
4.               ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่อง (Contiguous Conditioning) ของกัทธรี
-         กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Contiguity)
-         การเรียนรู้เกิดขึ้นได้แม้เพียงครั้งเดียว (One trial learning)
-         กฎของการกระทำครั้งสุดท้าย (Law of Regency)
-         หลักการจูงใจ (Motivation)
5.               ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ (Operant Conditioning) ของสกินเนอร์
-         การกระทำใดๆถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก ส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรง แนวโน้มที่ความถี่ของการกระทำนั้นจะลดลง
-         การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงตายตัว
-         การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว
-         การให้เสริมแรงหรือให้รางวัลเมื่ออินทรีย์กระทำพฤติกรรมที่ต้องการสามารถช่วยปรับหรือปลูกฝังนิสัยที่ต้องการได้
6.               ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior)
-         กฎแห่งสมรรถภาพในการตอบสนอง (Law of Reactive inhibition)
-         กฎแห่งการลำดับกลุ่มนิสัย (Law of Habit Hierachy)
-         กฎแห่งการใกล้จะบรรลุเป้าหมาย (Goal Gradient Hypothesis)
(ประมวลทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นสากลและการประยุกต์สู่การสอน) นักคิดกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลางคือ ไม่ดีไม่เลว (neutral - active) การกระทำต่างๆของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอกพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองสิ่งเร้า (stimulus- response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ “พฤติกรรม”มาก เพรพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดได้และททดสอบได้ ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวด้วยกับคือ
1.               ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism) นักทฤษฎีคนสำคัญคือ ธอร์นไดค์ (ค.ศ. 1814 - 1949)
2.               ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
2.1         แบบอัตโนมัติ (Classical Conditioning) ของพาฟลอฟ (Pavlov ค.ศ. 1849-1936) และวัตสัน (Watson ค.ศ. 1878-1958)
2.2         แบบต่อเนื่อง (Contiguous Conditioning)ของกัทธรี (Guthrie ค.ศ. 1886-1959)
2.3         แบบวางเงื่อนไข (Operant Conditionjng)ของสกินเนอร์ (Skinner ค.ศ. 1904-1990)
3.               ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Theory)
สรุป ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากสิ่งเร้าและแรงกระตุ้นจากภายนอก เน้นการแสดงออกของพฤติกรรมที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของผู้เรียน เพื่อเกิดการเรียนรู้ได้มีประสิทธิภาพ
อ้างอิง
(http://www.niteslink.net/)
(http://www.sobkroo.com/)
(ประมวลทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นสากลและการประยุกต์สู่การสอน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น