- ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์ บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นกระบวนการคิด การสอนโดยเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อย ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามรถคิดแก้ปัญหา คิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้
- ทฤษฎีสนาม(Field Theory) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าไปอยู่ใน “โลก” ของผู้เรียน การสร้างแรงจูงใจหรือแรงขับโดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตวิทยาให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
- ทฤษฎีเครื่องหมาย(Sign Theory) ของทอลแมน(Tolman) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการสร้างแรงขับและหรือแรงจูงใจให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใดๆ โดยใช้เครื่องหมาย สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย
- ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory) นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่ 2 ท่าน ได้แก่ เพียเจต์(Piaget) และบรุนเนอร์(Bruner) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ คำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนและจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการนั้น ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ ควรเด็กได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระและสอนการคิดแบบรวบยอดเพื่อช่วยส่งงเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผุ้เรียน
- ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful Verbal Learning) ของออซูเบล(Ausubel) เชื่อว่า การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์ หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย
กลุ่มพุทธนิยม หรือกลุ่มความรู้ ความเข้าใจ หรือกลุ่มที่เน้นกระบวนทางปัญญาหรือความคิด โดยเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจแต่ตนเอง มีทฤษฎีที่สำคัญ 5 ทฤษฎี คือ
1. ทฤษฎีเกสตัสท์ (Gestalt Theory)
- การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์
- บุคคลที่จะเรียนจากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย
- การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ การรับรู้ และ การหยั่งเห็น
- กฎการจัดระเบียบการรับรู้ (Perception)
-กฎการรับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อย (Law of Pragnanz)
-กฎความคล้ายคลึง (Law of Simslarity)
-กฎแห่งความใกล้เคียง (Law of Proximity)
-กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closure)
-กฎแห่งความต่อเนื่อง
-บุคคลมักมีความคงที่ในความหมายของสิ่งที่รับรู้ตามความเป็นจริง
-การรับรู้ของบุคคลอาจผิดพลาด บิดเบือนไปจากความเป็นจริงได้
- การเรียนรู้แบบหยั่งเห็น (insight) ของโคห์เลอร์ ได้สังเกตการณ์เรียนรู้ของลิงในการทดลอง พบว่าปัจจัยยสำคัญคือประสบการณ์
2. ทฤษฎีภาคสนาม (Field Theory) ของเคิร์ท เลวิน
- พฤติกรรมของคนมีพลังและทิศทาง
- การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ
3. ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sig Theory) ของทอลแมน
- ในการเรียนรู้ต่างๆผู้เรียนมีการคาดหมายรางวัล
- ขณะที่ผู้เรียนพยายามจะไปให้ถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการ
- ผู้เรียนมีความสามารถที่จะปรับการเรียนรู้ของตนไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
- การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในบุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้นบางครั้งจะไม่แสดงออกในทันทีอาจจะแฝงอยู่ในตัวผู้เรียน
4. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development Theory) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
1. พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้
- ขั้นรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส อายุ 0 - 2 ปี
- ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด ช่วงอายุ 2 – 7 ปี
- ขั้นการคิดแบบรูปธรรม ช่วงอายุ 7 – 11 ปี
2. ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่
3. กระบานการทางสติปัญญา
- การซึมซับหรือการดูดซึม
- การปรับและการจัดระบบ
- การเกิดความสมดุล
5. ทฤษฎีการพัฒนาทางสติปัญญาของบรุนเนอร์
1. โครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
2. การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน
3. การคิดแบบหยั่งรู้ เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างมีอิสระ
4. แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
5. ทฤษฎีพัฒนาการปัญญาของมนุษย์ แบ่งได้ 3 ขั้นตอน
- ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ
- ขั้นการเรียนรู้จากความคิด
- ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม
6. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่เราสามารถสร้างความคิดรวบยอด
7. การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือการให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
6. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learning) ของเดวิด ออซูเบล เชื่อว่าการเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน
(ประมวลทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นสากลและการประยุกต์สู่การสอน) กลุ่มพุทธินิยม หรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ หรือกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญยาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้ เริ่มขยายขอบเขตของความคิดที่เน้นทางด้านพฤติกรรมออกไปสู่กระบวนการทางความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู่จองมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆการเรียนรู้เป็ฯกระบวนการทางสติปัญยาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง ทฤษฎีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆมี 5 ทฤษฎีคือ
1. ทฤษฎีเกสตัลท์ (Gestalt Theory)นักจิตวิทยาคนสำคัญของทฤษฎีนี้ คือ แมกซ์ เวอร์ไทม์เมอร์ (Max Wertheimer) วุล์ฟแกงค์ โคห์เลอร์ (Wolfgang Kohler) เคิร์ท คอฟฟ์กา (Kurt koffka)และ เคิร์ท เลวิน (Kurt Lewin)
2. ทฤษฎีสนาม (Field Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญคือ เคิร์ท เลวิน ซึ่งได้แยกตัวจากทฤษฎีเกสตัลท์ ในระยะหลัง
3. ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory)ของทอลแมน (Tolman)
4. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญยา (Intellectual Development Theory)นักจิตวิทยาคนสำคัญคือ เพียเจต์ (Piaget)และบรุนเนอร์ (Bruner)
5. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learning)ของออซูเบล (Ausubel)
สรุป ทฤษฎีในกลุ่มพุทธินิยมเน้นกระบวนการภายในของสมองที่มีการใช้ความคิดที่เกิดการเรียนรู้ สะสมข้อมูลทำให้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้นได้มีความสัมพันธ์ของข้อมูลสามารถนำข้อมูลออกมาใช้ได้ ในการแก้ปัญหาซึ่งจะนำความรู้มาใช้ที่จะแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี
อ้างอิง
(ประมวลทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นสากลและการประยุกต์สู่การสอน)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น