ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล เป็นทฤษฎีที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมองทฤษฎีนี้เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 จนถึงปัจจุบัน
คลอสเมียร์ ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง
(ประมวลทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นสากลและการประยุกต์สู่การสอน)ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory)
ก. ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นทฤษฎีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมองทฤษฎีนี้เริ่มได้รับความนิยมมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 จวบจนปัจจุบัน ทฤษฎีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ คลอสเมียร์ (klausmeier,1985:52-108) ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง ซึ่งมีการทำงานเป็นขั้นตอนดังนี้
1. การรับข้อมูล (input)โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล
2. การเข้ารหัส (encoding)โดอาศัยชุดคำสั่งหรือมซอฟต์แวร์
3. การสั่งข้อมูลออก(output)โดยผ่านทางอุปกรณ์
ความรู้ในเชิงเมตาคอคนิชั่นหรือการรู้คิด(metacognitive knowledge)จึงมักประกอบไปด้วยความรู้เกี่ยวกับบุคคล(person) งาน (task) และกลวิธี (strategy)ซึ่งประกอบด้อยความรู้ย่อย ๆ ที่สำคัญดังนี้(Garofalo and Lester, 1985: 163-176
1. ความรู้เกี่ยวกับบุคคล (person)ประกอบไปด้วยความรู้ความเชื่อเกี่ยวกับความแตกต่างภายในตัวบุคคล(intra individual differences) ความแตกต่างระหว่างบุคคล(inter individual differences) และลักษณะสากลของกระบวนการรู้คิด (universals of cognition)
2. ความรู้เกี่ยวกับงาน (task) ประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับขอบข่ายของงานปัจจัยเงื่อนไขของงาน และลักษณะของงาน
3. ความรู้เกี่ยวกับกลวธ (strategy) ประกอบความรู้เกี่ยวกับกลวธการรู้เฉพาะด้านและโดยรวมและประโยชน์ของกลวิธีนั้นที่มีต่องาน แต่ละอย่าง ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แพริสและคณะ (paris et al., 1983:293-316)ได้จำแนกความรู้ในเชิงเมตาคอคนิชั่นออกเป็น – ประเภท เช่นเดียวกัน ได้แก่
1.ความรู้ในเชิงปัจจัย (declarative knowledge) คือ ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่องาน
2.ความเชิงกระบวนการ (procedural knowledge) ได้แก่ความรู่เกี่ยวกับกระบวนการและวิธีการต่างๆ ในการดำเดินงาน และ
3.ความรู้เชิงเงื่อนไข (conditional knowledge) ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ ข้อจำกัด และเงื่อนไขในการใช้กลวิธีต่างๆและการดํเนินงาน
ข. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน
ทฤษฎีที่กล่าวไว้ข้างต้น เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนหลายประการดังนี้
1.เนื่องจากการรู้จัก (recognition) มีผลต่อการรับรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง หากเรารู้จักสิ่งนั้นมาก่อน เราก็มักเลือกรับรู้สิ่งนั้น และนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำต่อไป การที่บุคคลจะรู้จักสิ่งใด บุคคลรู้หรือเคยมีประสบการณ์กับสิ่งนั้นมาก่อน
2. เนื่องจากความสนใจ (attention) เป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการรับข้อมูลเข้ามาไว้ในความจำระยะสั้น ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอน จึงควรจัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน
3. เนื่องจากข้อมูลที่ผ่านการรับรู้แล้ว จะถูกนำไปเก็บไว้ในความจำ ระยะสั้น ซึ่งนักจิตวิทยาการศึกษาพบว่า จะคงอยู่พียง 10 – 15 วินาทีเท่านั้น ดังนั้นหากต้องการที่จะจำสิ่งนั้นนานกว่านี้ ก็จำเป็นต้องใช้วิธีการต่างๆช่วย
4. หากต้องการจะให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส (encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี
5. ข้อมูลที่ถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำระยะสั้นหรือระยะยาวแล้ว สามารถเรียงออกมาใช้งานด้วยได้โดยผ่าน “effector” ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นพฤติกรรมทางวาจาหรือการกระทำ ซึ่งทำให้บุคคลแสดงความคิดภายในออกมาเป็นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้
6. เนื่องจากกระบวนการต่างๆของสมองได้รับการควบคุมโดยหน่วยบริหารควบคุมอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเปรียบได้กับโปรแกรมสั่งงาน ซึ่งเป็น “software” ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้น การที่ผู้เรียนรู้ตัวและรู้จักการบริหารควบคุมกระบวนการทางปัญญาหรือกระบวนการคิดของตนก็จะสามารถทำให้บุคคลนั้นสามารถสั่งงานให้สมองกระทำการต่างๆอันจะทำให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ได้
สรุป กระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล เป็นกระบวนการทางคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ โดยจะผ่านทางประสาทสัมผัส และผ่านทางอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่มีส่วนในการรับข้อมูล เป็นการประมวลข้อมูลทั้งทางคอมพิวเตอร์และทางสมองของมนุษย์ถึงการคิด ความรู้ ความสามารถของตนในการจัดควบคุมกระบวนการคิด
อ้างอิง
(ประมวลทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นสากลและการประยุกต์สู่การสอน)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น